วีธีการทอเสื่อ

กระบวนการทอเสื่อ
  1. เครื่องใช้ อุปกรณ์ในการทอเสื่อ
    1. กกย้อมสีต่างๆ เช่น สีแดง สีน้ำเงิน สีดำ สีเขียว สีเหลือง เป็นต้น 
    2. เส้นเอ็นปอ ใช้สำหรับขึง ได้มาจากการนำเนื้อเยื่อของเปลือกกระเจามาฉีกเป็นเส้นฝอย เล็กๆ แล้วนำมาปั่นให้เป็นเกลียวต่อให้ยาวติดต่อกัน
    3.  ฟืม คือ เครื่องมือที่กระทบเส้นกกให้แน่น ยาวเท่ากับขนาดกว้างของผืนเสื่อที่ทอ ประกอบด้วยช่องฟันฟืมและรูฟันฟืมสลับกันไปทั้งสองด้าน
    4. ไม้ส่งเส้นกก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ ไม้พุ่ง ” ทำด้วยไม้ยาวพอที่จะส่งเส้นกกได้ตลอดความกว้างของผืนเสื่อ ปลายเรียวเหมือนปากกาสำหรับพันเส้นกก เพื่อในขณะที่ส่งเส้นกก เมื่อชักไม้กลับมาเส้นกกจะได้ไม่กลับตามออกมา
    5.  ไม้ทำคาน ต้องใช้ 4 ท่อน แบ่งออกเป็น ท่อนใหญ่ 2 ท่อน ใช้ผูกติดกับเสาหลักเป็นคานเรียกว่า “ คานตาย ” ส่วนคานอีก 2 ท่อน ใช้สำหรับผูกมัดเส้นเอ็นปอสามารถเลื่อนเข้า – ออกได้เรียกว่า “ คานเป็น ”
    6. เกลียวเร่ง ใช้สำหรับผูกมัดระหว่างคานเป็นกับคานตาย เพื่อหมุนเกลียวเร่งเข้าหากันให้เส้นเอ็นขึงนั้นมีความตึงอยู่เสมอ (อาจใช้เชือกแทนก็ได้)
    7.  ไม้รองคานหรือที่ชาวบ้านรียกว่า “ ไม้ตุ๊กตา ” ทำจากไม้กว้างประมาณ 3 นิ้ว ยาวประมาณ 10 นิ้ว ด้านล่างเรียบใช้ตั้งกับพื้น ด้านบนเป็นง่ามใช้รองรับคานเป็นให้สูงขึ้นจากพื้น มีจำนวน 4 อัน
        1. ไม่ขัดเอ็น ใช้ไม้ไผ่เหลาให้บางพอประมาณ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวตามความเหมาะสม ใช้สำหรับขัดเส้นเอ็นก่อนที่จะส่งเส้นกกเส้นแรกและเส้นต่อๆ ไปจำนวนต้นละ 2 อัน
        2.   เทียน ,ขี้ผึ้ง สำหรับทาเอ็นเพื่อให้เกิดความลื่นของเส้นเอ็น เป็นการเบาแรงในการกระทบ
        3.  น้ำ เตรียมไว้สำหรับชุบ ปลายกกทั้งสองข้าง เพื่อให้เส้นกกนิ่ม สะดวกในการพันกับไม้พุ่งกก 
         2. การร้อยเส้นเอ็น           การร้อยเส้นเอ็นนี้มีต่างๆกันหลายชนิด แล้วแต่ลวดลายของเสื่อ อาทิเช่น     
2.1 เสื่อชั้นเดียว ที่จริงควรเรียกว่า “ เสื่อลายขัด ” เห็นจะถูกกว่า การร้อยเส้นเอ็นเสื่อชั้นเดียว ร้อยทุกฟันฟืมและรูฟันฟืมโดยไม่มีเว้น คือ ร้อยจากช่องฟันฟืมไปหารูฟันฟืม สลับกันไปตลอดความยาวของตัวฟืม
2.2 เสื่อ 2 ชั้น เสื่อสองชั้นนี้ต้องใช้ฟืมที่มีฟันฟืมเล็กกว่าฟืมชั้นเดียว ทอเป็นลวดลายได้หลายชนิด เป็นต้นว่า ลายตาหมากรุก ลายตาสมุก ลายตาเกล็ดกระ และลายตาเกล็ดเต่า เป็น
 2.2.1 ลายตาหมากรุก ต้องร้อยอย่างเดียวกับเสื่อชั้นเดียวจนหมดฟันฟืมเล็กๆ เมื่อถึงฟันใหญ่ให้ร้อยเส้นหนึ่งเว้นเส้นหนึ่งจนตลอดฟันใหญ่ แล้วเริ่มร้อยฟันเล็กอีกด้านหนึ่งเหมือนตอนต้น
          2.2.2 ลายตาหมากสมุก ทุกลายจะต้องร้อยตรงฟันเล็กเช่นเดียวกันเสมอ ตรงฟันใหญ่เริ่มร้อย 3 เส้น เว้น 1 เส้น ต่อไปร้อย 2 เส้น เว้น 1 เส้น และต่อไปร้อย 3 เส้นเว้น 1 เส้นร้อย 2 เส้น เว้น 1 เส้น สลับกันไปอย่างนี้ตลอดฟันใหญ่และจบลงด้วยฟันเล็กเช่นเดิม
          2.2.3 ลายตาเกล็ดกระ ตรงฟันใหญ่เว้น 1 เส้น ร้อย 4 เส้นเว้น 1 เส้นร้อย 4 เส้นตลอดไป
          2.2.4 ลายเกล็ดเต่า ตรงฟันใหญ่เว้น 1 เส้นร้อย 5 เส้นเว้น 1 เส้นร้อย 5 เส้น ตลอดไป
           นอกจากนี้ยังมีการร้อยลายตาผ้าเช็ดหน้า ลายห้องอีกหลายลาย แต่ทั้งนี้เป็นการยากในการเขียนอธิบายและการจดจำ ปัจจุบันนี้การทอเสื่อสองชั้นแทบจะไม่มีใครทอ นอกจากเป็นการสั่งพิเศษ ในอดีตการทอเสื่อสองชั้นจะนิยมใช้กกที่เส้นหยาบทอ ถ้าใช้กกเส้นละเอียดทอจะเกิดการซ้อนกันและสิ้นเปลือง
3. วิธีการทอเสื่อ การทอนี้ต้องใช้ 2 คนด้วยกัน คนหนึ่งเป็นคนกระทบ อีกคนหนึ่งเป็นคนพุ่ง    เส้นกก
          คนทอ มีหน้าที่พลิกฟืมให้คว่ำหงายและกระทบเส้นกก พร้อมกับการคอยสังเกตลักษณะของเส้นกกที่กระทบกันนั้น ขาด โค้งงอหรือไม่ ผู้พุ่งให้สีหรือเปลี่ยนสีที่ถูกต้องหรือไม่
 ผู้พุ่ง มีหน้าที่ส่งเส้นกกตามจังหวะหงายและคว่ำฟืม พร้อมด้วยการทำลวดลายของผืนเสื่อ
          การขึงเส้นเอ็นเพื่อการทอ ส่วนใหญ่การขึงครั้งหนึ่งจะทอเป็นเสื่อได้ 2 ผืน เมื่อทอเสร็จแล้วก็จะจำหน่ายให้กับกลุ่มเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เสื่อกก